ในขบวนขั้นหมาก ประกอบด้วยพานอะไรบ้าง

 

สำหรับพิธีการหรือสิ่งของที่ต้องใช้ในงานแต่งงานนั้น บ่าวสาวสมัยใหม่หลายคู่คงไม่ค่อยมีความรู้เกี่ยวกับการจัดงานแต่งงานตามประเพณีไทยสักเท่าไหร่ วันนี้กระปุกเวดดิ้งเลยมาแนะนำข้อมูลเกี่ยวกับการจัดเตรียมขบวนขันหมากตามประเพณีไทย รวมทั้งการจัดขบวนแห่ขันหมากต้องลำดับอะไรก่อนหลัง เรามีคำตอบมาบอกกันค่ะ

ประเพณีการจัดขันหมากในงานแต่งงาน ในขบวนจะแบ่งออกเป็น “ขันหมากเอก” และ“ขันหมากโท” ติดตามด้วยเหล่าบริวารขันหมาก ส่วนรูปตามแบบฉบับฝีมือชาววังที่นิยมทำกันนั้น มี 2 แบบ คือ แบบใช้พลูจีบ กับ แบบที่ไม่ใช้พลูจีบ โดยทั้ง 2 แบบ จะใส่หมากพลูเป็นจำนวนคู่ อย่าง คู่ 4 หรือ คู่ 8 นำมาจัดเรียงให้สวยงาม สาเหตุที่ต้องมีการใส่หมากพลูลงไปในพานขันหมาก ก็เพราะในสมัยก่อนนิยมกินหมาก จึงมีการใช้หมากพลูเป็นเครื่องต้อนรับ เพื่อแสดงไมตรีจิต และหมายถึงความยินดีต้อนรับอย่างเป็นกันเองด้วยไมตรีจิต ซึ่งนอกจากพานขันหมากเอกแล้ว ยังมีพานต่าง ๆ ที่ฝ่ายชายจะต้องเตรียมทั้งหมดเพื่อแห่ในขบวนขันหมาก ดังนี้ …

พานขันหมากเอก ประกอบด้วย

 1. พานขันหมาก เป็นพานของฝ่ายชายเชิญมาที่บ้านฝ่ายหญิง ประกอบด้วย พลู 2 พาน ในพานจะมี หมาก 8 ผล, พลู 4 เรียง ๆ ละ 8 ใบ, ถุงเงิน 2 ใบ, ถุงทอง 2 ใบ ข้างในบรรจุ ถั่วเขียว, งาดำ, ข้าวเปลือก, ข้าวตอก และซองเงิน 1 ซอง

ขบวนขันหมาก

 2. พานสินสอด พานทองหมั้น ใช้สำหรับใส่เงิน, ทอง, เพชร, นาค ไว้ในพานเดียวกัน ใช้สองพานหรือ 1 พานก็ได้ ซึ่งพานนี้จะมีผ้าคลุมไว้ ส่วนใหญ่ใช้ผ้าลูกไม้ ภายในพาน นอกจากสินสอดเงินทองแล้ว จะต้องมีใบเงิน, ใบทอง, ใบนาค, กลีบกุหลาบ, กลีบดาวเรือง, กลีบบานไม่รู้โรย, ดอกมะลิ, ดอกรัก, ถุงเงิน และถุงทอง

ขบวนขันหมาก

 

ขบวนขันหมาก

 3. พานแหวนหมั้น ใช้พานขนาดเล็กซึ่งจะมีการออกแบบที่รองแหวนด้วยการจัดประดับพานด้วยดอกไม้ เพื่อความสวยงามด้วย

 4. พานธูปเทียนแพ ไม่ต้องทำขนาดใหญ่มากจนเกินไป เพื่อจะใช้พานนี้ในการรับไหว้ ผู้ใหญ่ด้วยก็สามารถทำได้เช่นกัน

ขบวนขันหมาก

 5. พานผ้าสำหรับไหว้ หรือพานธูปเทียนแพ จำนวนแล้วแต่จะกำหนด ซึ่งพานไหว้ผู้ใหญ่ในสมัยก่อนจะใช้พานธูปเทียนแพเท่านั้น แต่ในปัจจุบัน จะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกเป็นผ้าขาวสำหรับนุ่ง 1 ผืน และผ้าสำหรับห่ม 1 ผืน เทียน และธูปหอม ดอกไม้ 1 กระทง อันนี้สำหรับเซ่นไหว้บรรพบุรุษที่ล่วงลับไปแล้ว แต่ถ้า ยังมีชีวิตอยู่ไม่ต้องจัดพานดังกล่าว แต่จะจัดในส่วนที่สอง คือสำรับที่จะใช้ไหว้ ญาติผู้ใหญ่ พ่อและแม่ของทั้งสองฝ่าย โดยการใช้ผ้าขาวสำหรับนุ่งและผ้าห่ม อย่างล่ะ 1 ผืน หรือจะใช้เสื้อผ้า หรือของอื่น ๆ แทนก็ได้ แต่ไม่ต้องใช้ธูปเทียนและดอกไม้

 6. พานเชิญขันหมาก 1 พาน โดยจะให้เด็กผู้หญิง ฝ่ายเจ้าสาวถือต้อนรับขันหมาก นำขันหมากเจ้าบ่าว

ขบวนขันหมาก

 7. ร่มสีขาว 2 คัน โดยจะให้เฒ่าแก่ 2 ฝ่ายถือ

 8. ช่อดอกไม้เล็ก ๆ สำหรับเจ้าบ่าวถือ

 9. พานต้นกล้วย 1 คู่ ต้นอ้อย 1 คู่ เพื่อสื่อถึงให้คู่บ่าวสาวทำมาค้าขายเจริญรุ่งเรือง นอกจากนี้ ต้นกล้วยยังหมายถึงให้มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง ทั้งนี้ ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นต้นเล็กนำมาให้เฒ่าแก่ฝ่ายเจ้าบ่าวเป็นคนถือ

  พานขันหมากโท หรือขันหมากบริวาร ประกอบด้วย…

 1. พานขนมมงคล 9 อย่าง จำนวน 2 พาน อาทิ ทองหยิบ, ทองหยอด, ฝอยทอง, ทองเอก, ขนมจ่ามงกุฎ, ขนมเสน่ห์จันทร์, ขนมลูกชุบ, ขนมหม้อแกง, ขนมข้าวเหนียวแดง, ขนมข้าวเหนียวแก้ว และขนมชั้น ซึ่งในสมัยก่อนจะใช้ขนมโบราณ อย่าง ขนมกง, ขนมทองเอก, ขนมชะมด, ขนมสามเกลอ, ขนมโพรงแสม, ขนมรังนก ซึ่งปัจจุบันหายากแล้ว และหลายคนก็ไม่รู้จักแล้ว ส่วนขนมที่ไม่นิยมนำมาใช้ในงานมงคล คือ ขนมต้มแดง ต้มขาว

ขบวนขันหมาก

 2. พานไก่ต้ม พานหมูนอนตอง

 3. พานวุ้นเส้น 1 คู่

 4. พานมะพร้าว 1 คู่

 5. พานกล้วยหอม (จำนวนหวีต้องเป็นคู่) และส้ม 1 คู่

 6. พานส้มโอ 1 คู่

 7. พานชมพูเพชร 1 คู่

 8. พานคู่ขนมเสน่ห์จันทร์หรือขนมเปี๊ยะ 1 คู่

 9. พานขนมกล่อง จำนวนตามญาติผู้ใหญ่ที่เราจะแจก ซึ่งจะใช้ขนมอะไรก็ได้แล้วแต่ความเชื่อของแต่ละบ้าน

  พานผ้าเครื่องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ประกอบด้วย

 1. ธูป 5 ดอก เทียน 2 เล่ม

 2. มะพร้าวอ่อน 1 คู่, กล้วยน้ำหว้า 2 หวี, ไก่ต้ม 1 ตัว, หมูนอนตอง 1 ที่

 3. เหล้า 1 คู่

 4. ผ้าขาว 1 พับ (ประมาณ 4 ศอก หรือ 2 เมตร)

Comments

comments